เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
เวิลด์ไวด์เว็บ นิยมเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ หรือ WWW ถือเป็นส่วนที่น่าสนใจที่สุดบนอินเทอร์เน็ตเพราะ สามารถแสดงสารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลด้านดนตรี กีฬา การศึกษา ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว เช่นแฟ้มภาพวีดิทัศน์หรือตัวอย่าง ภาพยนตร์ และการสืบค้นสารสนเทศในเวิลด์ไวด์เว็บนั้นจำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมค้นดูเว็บ (web browser) ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล โดยที่เว็บกับโปรแกรมค้นผ่านจะทำหน้าที่รวบรวมและกระจายเอกสารที่เครือข่าย ที่ทำไว้
เกตส์ (Gates, 1995) ได้กล่าวถึงเว็บไว้ว่า นอกเหนือจากการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการแลก เปลี่ยนเอกสารกันแล้ว อินเทอร์เน็ตยังสนับสนุนสืบค้นข้อมูล อันเป็นโปรแกรมการใช้งานที่ได้รับความนิยม มากที่สุดแบบหนึ่งนั่นคือเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งหมายถึงเครื่องบริการเว็บที่ต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยมี ข่าวสารเป็นภาพกราฟิก เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องบริการเว็บประเภทนั้น จอภาพจะปรากฏข่าวสารพร้อมด้วย การเชื่อมโยง เมื่อเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่จุดเชื่อมโยงใดๆ ก็จะเป็นการเปิดไปสู่อีกหน้าหนึ่งที่มีข่าวสารเพิ่มเติม พร้อมทั้งการเชื่อมโยงจุดใหม่อื่นๆ ซึ่งข่าวสารหน้าใหม่นี้อาจจะอยู่ในเครื่องบริการเว็บเดียวกันหรืออาจเป็น เครื่องบริการเว็บอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ต
กิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้กล่าวถึงเวิลด์ไวด์เว็บว่า เป็นบริการสืบค้นสารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ในระบบข้อความหลายมิติ (hypertext) โดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง เพื่อเสนอหน้าเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สารสนเทศที่นำเสนอจะมีรูปแบบทั้งในลักษณะของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง การเข้าสู่ระบบ เว็บจะต้องใช้โปรแกรมทำงานซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator), อินเทอร์เน็ต เอ็กซพลอเรอร์ (Internet Explorer) มอเซอิก (Mosaic) โปรแกรมเหล่านี้ช่วย ให้การใช้เว็บในอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น
ความเป็นมาของเวิลด์ไวด์เว็บ
ปี พ.ศ.2533 นักวิทยาศาสตร์จากห้องทดลองของสถาบันเซิร์น (CERN) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ แห่งยุโรป ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คือ ทิม เบิร์นเนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) ได้สร้างระบบ การสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่าไฮเพอร์เท็กซ์ (hypertext) ซึ่งผลที่ได้ ทำให้มีการสร้างโพรโทคอลแบบ HTTP (Hypertext Transport Protocol) ขึ้น เพื่อใช้ในการส่งสาร สนเทศต่างๆ โดยจะถูกจัดอยู่ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า HTML (HyperText Markp Language) ซึ่งการ สื่อสารและการสืบค้นสารสนเทศในรูปแบบใหม่นี้ทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วใน ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ และเสียง (จิตเกษม พัฒนาศิริ, 2540)จากการวิจัยดังกล่าว ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นและสร้างสรรค์รูปแบบเพื่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นตัวเชื่อมโยง ทำให้เวิลด์ไวด์เว็บกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้การติดต่อสื่อสาร และการนำเสนอผ่านเครือข่ายทิ่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกไปแล้วในขณะนี้
เว็บไซต์ เว็บเพจและโฮมเพจ
เว็บไซต์ เว็บเพจและโฮมเพจ ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเว็บ เนื่องจากเมื่อเข้าไปในเว็บแล้ว สารสนเทศหรือข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการสืบค้นก็คือหน้าของเอกสารที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งรายละเอียด ของแต่ละส่วนมีดังนี้
เว็บไซต์ (Web site)
ปิยวิท เจนกิจจาไพบูลย์ (2540) ได้กล่าวว่า เว็บไซต์ ถูกเรียกเป็นตำแหน่งที่อยู่ของผู้ที่มีเว็บเพจเป็น ของตัวเองบนระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้จากการลงทะเบียนกับผู้ให้บริการเช่าพื้นที่บนระบบอินเทอร์เน็ต เมื่อลงทะเบียนในชื่อที่ต้องการแล้ว ก็สามารถจัดทำเว็บเพจและส่งให้ศูนย์บริการนำขึ้นไปไว้บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือว่ามีเว็บไซต์เป็นของตนเองแล้ว และเว็บไซต์ก็คือแหล่งที่รวบรวมเว็บเพจจำนวนมากมายหลายหน้า ในเรื่องเดียวกันมารวมอยู่ด้วยกัน แต่สิ่งหนึ่งในการเสนอเรื่องราวที่อยู่บนเว็บไซต์ที่แตกต่างไปจากโปรแกรม โทรทัศน์ เนื้อหาในนิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ เนื่องจากการทำงานบนเว็บจะไม่มีวันสิ้นสุด ทั้งนี้เนื่องจากเรา สามารถเปลี่ยนแปลงและเพิ่มสารสนเทศบนเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา และแต่ละเว็บเพจจะมีการเชื่อมโยง กันภายในเว็บไซต์หรือไปยังเว็บไซต์อื่นๆ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านได้ในเวลาอันรวดเร็ว (กิดานันท์ มลิทอง, 2542)เว็บเพจ
คือหน้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บนเว็บ ที่เจ้าของเว็บเพจ ต้องการจะใส่ลงไปในหน้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น ข้อมูลแนะนำตัวเอง ซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือองค์กรที่ต้องการให้ผู้อื่นได้ทราบ หรือข้อมูลที่น่าสนใจ เป็นต้น โดยที่ข้อมูลที่แสดง เป็นได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวและข้อมูลที่นำเสนอสามารถเชื่อมโยงในรูปของ ไฮเพอร์เท็กซ์ คือ เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นที่จะให้ข้อมูลนั้นๆ ในระดับลึกลงไปได้เรื่อยๆและเว็บเพจจะ ต้องมีที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายเฉพาะของตน ซึ่งแหล่งที่อยู่นี้เรียกว่า URL (Uniform Resource Locator)
ประโยชน์ของเวิลด์ไวด์เว็บ
เวิลด์ไวด์เว็บเซิร์ฟเวอร์เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจะได้รับประโยชน์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์แหล่งต่างๆทั่วโลก ซึ่งเป็นการอนุเคราะห์โดยองค์กรผู้เป็นเจ้าของเซิร์ฟเวอร์นั้น เว็บเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากเน้นการให้บริการข้อมูลข่าวสารแบบสาธารณะ เว็บเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ได้แก่ เซิร์ฟเวอร์ของสถาบันการศึกษา เซิร์ฟเวอร์องค์กรของรัฐ ตลอดจนองค์กรไม่แสวงหาผลประโยชน์และมูลนิธิเพื่อสังคม เป็นต้น ส่วนในแง่ของธุรกิจการค้า ผู้เป็นเจ้าของเซิร์ฟเวอร์สามารถได้รับประโยชน์จากเวิลด์ไวด์เว็บทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยใช้เว็บเพจเป็นสื่อโฆษณาสินค้าและบริการ
ประโยชน์ของประโยชน์ของเวิลด์ไวด์เว็บ
เวิลด์ไวด์เว็บโดยสรุปมีดังนี้
2. เพื่อจำหน่ายสินค้า เป็นการจำหน่ายสินค้า จำหน่ายการบริการ เช่น การบริการการท่องเที่ยว และการบริการสถานพักผ่อน เป็นต้น โดยแสดงรูปและราคาสินค้าและค่าบริการไว้บนโฮมเพจของเวิลด์ไวด์เว็บเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทหรือองค์กรผู้ค้านั้นๆ
3. เพื่อให้บริการลูกค้า เป็นการให้บริการทางด้านต่างๆ รวมถึงการบริการหลังการจำหน่ายสินค้าของบริษัทให้กับลูกค้า หรือจัดเป็นโฮมเพจสำหรับลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
4. เพื่อแสดงความคิดเห็น เป็นการความคิดเห็นของลูกค้าต่อสินค้าของบริษัท ทำให้บริษัทสามารถได้รับความคิดเห็นของลูกค้าผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนโฮมเพจของบริษัท ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงสินค้าและบริการ เพื่อสนองตอบลูกค้าในเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้ลูกค้าประทับใจ และเป็นผลให้สินค้าของบริษัทได้รับความนิยมอย่างยิ่งขึ้น
5. เพื่อนำเสนอสิ่งพิมพ์ เป็นการเสนอสิ่งพิมพ์ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งพิมพ์เหล่านี้ได้แก่ นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Magazine) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และใบโฆษณา (brochure) เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น