วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทที่6 เว็บบราวเซอร์โปรแกรม


เว็บบราวเซอร์โปรแกรม


ความหมายของ Web Browser 

       เว็บบราวเซอร์ (web browser) หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล(HTML)ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ




นอกจากนี้ยังมีเว็บเบราว์เซอร์ถือกำเนิดขึ้นอีกมากมาย เช่น

-Mosaic หรือ โมเสค ในปี 1993 
 -IE หรือ Internet Explorer ในปี 1995 
 -Netscape Navigator ในปี 1994 
 -Opera ในปี 1996 -Safari ในปี 2008 
 -Mozilla Firefox ในปี 2005
 -Google Chrome ในปี 2008








Web browser มีอะไรบ้าง 

 1.Firefox 

      คือ หลาย ๆ คนที่เล่นเน็ทเป็นเปิดเว็บไซท์เป็นคงจะรู้จักกับคำว่าเว็บบราวเซอร์ หรือโปรแกรมท่องเว็บ ส่วนใหญ่แล้วเราคงจะรู้จักกันแต่ Internet Explorer ของ Microsoft จอมผูกขาด คุณรู้หรือเปล่าว่า IE ที่คุณใช้อยู่นั้น ณ เวลาปัจจุบันมันไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย เพราะว่าทางทีมงานเค้าไม่ได้พัฒนามานานแล้ว ฉะนั้นเรื่องความปลอดภัยไม่ต้องถามหา ซึ่ง Firefox นั้นเป็นอินเทอร์เน็ทบราวเซอร์ตัวใหม่ที่จะเข้ามาแข่งกับ IE < Internet Explorer> นำทีมสร้างโดย Mozilla โดยมีนักพัฒนาต่อยอดอยู่ทั่วทุกมุมโลก คุณสมบัติของ Firefox ที่เด่นกว่า IE คือ โปรแกรมมีขนาดเล็กกว่าทำให้การโหลดข้อมูล ทางหน้าเว็บเพจทำได้รวดเร็ว ใช้งานได้สะดวก แท็บด้านบนทำให้ทำให้เข้าได้หลายเว็บไซด์พร้อมๆกันโดยไม่ต้องเปิด window ใหม่ อีกทั้งยังมีการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องอินเทอร์เน็ต เช่น เมนูของGoogle สำหรับการค้นหาข้อมูล 

2.Opera 

      Opera เป็นเบราว์เซอร์จากนอร์เวย์โดยมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีเยี่ยมและเชื่อถือได้ตั้งแต่สงครามเบราว์เซอร์ล่าสุดกับ Microsoft หลังจากที่แข่งขันได้ Opera ในช่วงอาชีพของส่วนใหญ่ของพื้นที่ฝัง, เช่นถนนโทรศัพท์มือถือขี่หมาป่าและกระตือรือร้น counter – พอใจเปิดตัวในระบบเดสก์ทอป  

3.Safari 

     จากข้อมูลของทาง Apple.com ก็ได้กล่าวถึงโปรแกรม Safari ว่าเป็นโปรแกรมท่องเว็บไซต์ที่เร็วที่สุด โดยเปรียบเทียบกับ Browser อื่น เช่น Firefox หรือ Internet Explorer แต่ก็เป็นข้อมูลจากทาง Apple.com ซึ่งก็ขอให้ผู้อ่านฟังหูไว้หู อย่าเชื่อข้อมูลของทาง Apple.com มากนัก และจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนใช้งานมาทั้ง Safari Firefox และ Internet Explorer ในความรู้สึกส่วนตัวเห็นว่า Safari เองเร็วกว่า Internet Explorer อย่างเห็นได้ชัด แต่ต่างกับ Firefox เล็กน้อย โดยขั้นตอนการโหลดเว็บของ Safari จะกระตุกสักครู่แล้วมาหมดทีเดียวทั้งหน้าเลย ต่างจาก Firefox ที่จะมีกรอบเหลี่ยมๆ ก่อนแล้วแต่ละส่วนค่อยๆ โหลดมา ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาเพราะเทคนิคการเขียนโปรแกรมนั้นแตกต่างกัน 

4.Crazy Browser 

     คือ"หน้ากาก"ครอบ IE ลงไปอีกทีหนึ่ง แล้วก็เพิ่มความสามารถต่างๆเข้ามา เพื่อให้การใช้เข้าดูเว็บต่างๆนั้น สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น 


5.Maxthon Browser Maxthon 

เป็นเบราว์เซอร์ถูกดาวน์โหลด มากกว่า 463 ล้านครั้ง (ซึ่งสามารถดูได้จากหน้าเว็บของ Maxthon เลย) Maxthon (เดิมใช้ชื่อ MyIE2) เป็นเบราว์เชอร์ที่มีความแข็งเกร่ง มีพวกปลั๊กอินให้เราเลือกมากกว่า 1,400 ปลั๊กอินที่ทำให้เราสามารถใช้ Maxthon ได้อย่างสะดวกสบาย และยังมีสกินที่สวยๆให้เราเลือกปรับแต่งใช้งาน Maxthon ให้สวยหรูได้อีกด้วย 

6. Google chrome Google Chrome 

     คือ เว็บเบราว์เซอร์ใหม่สำหรับ Windows ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยทาง Google เอง และเป็นเบราว์เซอร์ที่รวมการออกแบบที่เรียบง่ายเข้ากับเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเพื่อทำให้เว็บรวดเร็วขึ้น ปลอดภัยขึ้น และใช้งานง่ายขึ้น รายละเอียดบางส่วนของ Google Chrome ค้นหาจากแถบที่อยู่ พิมพ์ในแถบที่อยู่ และรับคำแนะนำสำหรับทั้งหน้าการค้นหาและหน้าเว็บ ภาพขนาดเล็กของเว็บไซต์โปรดของคุณ เข้าถึงหน้าเว็บโปรดของคุณได้ทันทีอย่างรวดเร็วจากแท็บใหม่ใดๆ ก็ตาม การเรียกดูส่วนตัว เปิดหน้าต่างที่ไม่ระบุตัวตนเมื่อคุณไม่ต้องการบันทึกไว้ในประวัติการเรียกดูของคุณ 

 7. Internet Explorer 

    คือโปรแกรม Internet Explorer เรียกย่อๆ ว่า IE เป็นโปรแกรมเบราเซอร์ที่ใช้ในการเปิดเว็บเพจในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็น Application Software ที่ผลิตโดยบริษัท Microsoft ส่วนประกอบที่สำคัญของโปรแกรม 


ประโยชน์ของ Web Browser 

       สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page

บทที่5 การเข้าใช้งานระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


การเข้าใช้งานระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


การเข้าสู่อินเตอร์เน็ต

     Internet Explorer โปรแกรมสำหรับสื่อสารบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต Internet Explorer เป็นโปรแกรมสำหรับสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตที่พัฒนาโดย บริษัทไมโครซอฟท์ จุดเด่นของ Internet Explorer คือการรวมกันของโปรแกรมสำหรับให้บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ทำให้เรียนรู้ง่าย และใช้งาน ได้สะดวก Internet Explorer ประกอบด้วยโปรแกรมย่อยที่สำคัญหลายโปรแกรม



การเข้าสู่โปรแกรม Internet Explorer การเข้าสู่โปรแกรม Internet Explorer สามารถกระทำได้หลายวิธี

วิธีที่ 1
คลิกที่ปุ่ม Start เลื่อนเมาส์ไปที่ Programs แล้วคลิกเลือก Internet Explorer
วิธีที่ 2
ทำการดับเบิ้ลคลิก (Double Click) สัญลักษณ์แทน Internet Explorer ที่ปรากฎอยู่บน Desktop
วิธีที่ 3
ทำการคลิก สัญลักษณ์แทน Internet Explorer ที่ปรากฎอยู่บน Taskbar ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้


ส่วนประกอบของหน้าต่าง Internet Explorer



ส่วนประกอบของหน้าต่าง Internet Explorer ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. แถบหัวเรื่อง (Title Bar) เป็นส่วนแสดงชื่อโปรแกรม และชื่อ เว็บขณะนั้น
2. แถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar) เป็นส่วนแสดงคำสั่งต่างๆ ที่สามารถเลือกใช้ได้เมื่อคลิกที่ชื่อเมนูใด จะ ปรากฎ คำสั่งภายในเมนูนั้นให้เลือก
3. แถบเครื่องมือ (Tool Bar) เป็นส่วนแสดงปุ่มคำสั่งที่ใช้บ่อยๆ เพื่อให้เลือกใช้ได้สะดวกกว่า เลือกจาก แถบเมนู เมื่อเลือกตัวชี้ของเมาส์มายังไอคอน ไอคอนส่วนนั้นจะแสดงเป็นกรอบรูปและเป็นรูปสี
4. โลโก้ (Logo) Windows-IE เป็นส่วนที่แสดงสภาวะการดึงข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ตหากกำลังทำการดึง ข้อมูลอยู่จะแสดงรูปโลกหมุนรอบโลโก้วินโดวส์และจะหยุดนิ่งเมื่อเสร็จสิ้นการดึงข้อมูล
5. พื้นที่แสดงเว็บเพจ เป็นส่วนที่แสดงข้อมูลในเว็บเพจที่ดึงมาดู หากมีข้อมูลยาวเกิน 1 หน้าจอให้ใช้ แถบเลื่อนจอภาพ (Scroll Bar) ในการเลื่อนไปดูในส่วนที่เหลือ
6. แถบสถานะ (Status bar) เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงสภาวะการติดต่อ และการส่งผ่านข้อมูลในระบบ

แถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar) 

      เมนูคำสั่งนั้นจะมีคำสั่งมากมาย ซึ่งจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ที่สามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เมนูคำสั่งของ Internet Explorer จะมีดังนี้ File จะเป็นเมนูที่เกี่ยวกับการไปยังเว็บไซต์หรือเว็บเพจต่าง ๆ รวมไปถึงการจัดเก็บเอกสาร การพิมพ์ เอกสารนั้น ๆ Edit ใช้ในการเลือกทำงานร่วมกับเอกสารที่อยู่บนพื้นที่ทำงาน (Workspace) ไม่ว่าจะเป็นการคัดลอก (Copy), การเคลื่อนย้าย (Cut), การวางเอกสาร (Paste) เอกสาร หรือการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ในเอกสารนั้น ๆ View เมนูนี้ จะเป็นคำสั่งที่มีความสัมพันธ์กับปุ่มคำสั่งบนแถบเครื่องมือ (Tool Bar) บางคำสั่งเป็นคำสั่ง เดียวกัน เช่น การแสดงตัวอักษรในขนาดต่าง ๆ การดึงข้อมูลใหม่อีกครั้ง (Refresh) ใช้ในการค่าต่าง ๆ ของแถบเครื่องมือ (Tool Bar) และการดู Source ของเอกสารเว็บในขณะนั้น Go จะเป็นคำสั่งในการไปยังเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งเก็บประวัติในการไปในที่ต่าง ๆ ด้วย Favorites จะเป็นเมนูที่เก็บสถานที่หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการ ในกรณีที่เคยไปเยี่ยมชมมาแล้ว สามารถเพิ่มเติมสถานที่เหล่านั้นได้ Help เป็นเมนูช่วยเหลือต่าง ๆ 

การใช้โฟลเดอร์ Favorites 

    โฟลเดอร์ Favorites จะเป็นโฟลเดอร์ที่ใช้เก็บสถานที่ที่ชอบและเคยไปมาแล้ว ช่วยอำนวยความสะดวก ในการ ทำงาน ไม่ต้องมาเสียเวลาจำที่อยู่ URL ซึ่งอาจจะยากและยาวเกินไป ซึ่งมีวิธีการใช้โฟลเดอร์ Favorites ดังนี้ 
1. สมมติว่า ต้องการไปยังเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ก็ทำได้โดยการพิมพ์ http://www.thairath.com ลงในช่อง Address แล้วกดปุ่ม Enter หรือ คลิกปุ่ม Go
2. หากต้องการเก็บเว็บไซต์นี้เอาไว้ในโฟลเดอร์ Favorites ทำได้โดยคลิกที่เมนูคำสั่ง Favorites จากนั้นเลือก คำสั่ง Add to Favorites หรืออาจคลิก (Click) ขวาที่ส่วนของหน้าเอกสารแล้วเลือก คำสั่ง Add to Favorites ก็ได้



3. จะปรากฏไดอะล็อก Add to Favorites ปรากฎขึ้นมา ให้กำหนดชื่อที่ต้องการจะจัดเก็บ จากนั้นกดปุ่ม OK




4. เมื่อต้องการมาที่เว็บไซต์นี้อีกครั้งในภายหลัง ก็สามารถเรียกใช้จากเมนูคำสั่ง Favorites ได้ทันที โดยที่ ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ ที่อยู่ URL ในช่อง Address ใหม่



แถบเครื่องมือ (Tool Bar) 
แถบเครื่องมือหลักของ Internet Explorer มีอยู่ดังต่อไปนี้
1. แถบเครื่องมือมาตรฐาน (Standard buttons) เป็นส่วนที่ช่วยในการจัดการกับเว็บเพจต่างๆ

Back การย้อนกลับไปดูเว็บเพจที่ผ่านมาแล้ว และสามารถย้อนกลับไปยังเว็บเพจที่ต้องการได้โดยกดปุ่มลูก ศรข้างปุ่ม

Forward การเดินหน้าไปดุเว็บเพจที่ผ่านมาแล้ว และสามารถเดินหน้าไปยังเว็บเพจที่ ต้องการได้ โดยกดที่ลูกศรข้างปุ่ม

Stop การหยุดดึงข้อมูล


Refresh การดึงข้อมูลจากเว็บเพจหน้าเดิมใหม่ ใช้ในกรณีที่ข้อมูลดึงมาไม่สมบูรณ์


Home การกลับไปยังหน้าโฮมเพจได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว


Search การค้นหาข้อมูลที่อยู่ในเว็บเพจนั้น


Favorite การเก็บชื่อและตำแหน่งของเว็บเพจที่ถูกใจ เพื่อให้สามารถกลับมาดูได้อย่าง สะดวกและรวดเร็ว

2. แถบที่อยู่ (Address bar) เป็นส่วนที่แสดงตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจขณะนั้น และยังเป็นส่วนที่ใช้ในการเข้าไปสู่หน้าโฮมเพจ (Homepage) ต่าง ๆ โดยที่ผู้ใช้ต้องป้อนชื่อโฮมเพจ (Homepage) ต้องการเข้าไปในโฮมเพจ (Homepage) ของสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ก็ต้องพิมพ์ http://www.risurat.ac.th ลงในช่อง Address แล้วกด Enter หรือคลิกเมาส์ ที่ปุ่ม Go ก็จะเข้าสู่เว็บเพจของสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี