วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทที่5 การเข้าใช้งานระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


การเข้าใช้งานระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


การเข้าสู่อินเตอร์เน็ต

     Internet Explorer โปรแกรมสำหรับสื่อสารบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต Internet Explorer เป็นโปรแกรมสำหรับสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตที่พัฒนาโดย บริษัทไมโครซอฟท์ จุดเด่นของ Internet Explorer คือการรวมกันของโปรแกรมสำหรับให้บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ทำให้เรียนรู้ง่าย และใช้งาน ได้สะดวก Internet Explorer ประกอบด้วยโปรแกรมย่อยที่สำคัญหลายโปรแกรม



การเข้าสู่โปรแกรม Internet Explorer การเข้าสู่โปรแกรม Internet Explorer สามารถกระทำได้หลายวิธี

วิธีที่ 1
คลิกที่ปุ่ม Start เลื่อนเมาส์ไปที่ Programs แล้วคลิกเลือก Internet Explorer
วิธีที่ 2
ทำการดับเบิ้ลคลิก (Double Click) สัญลักษณ์แทน Internet Explorer ที่ปรากฎอยู่บน Desktop
วิธีที่ 3
ทำการคลิก สัญลักษณ์แทน Internet Explorer ที่ปรากฎอยู่บน Taskbar ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้


ส่วนประกอบของหน้าต่าง Internet Explorer



ส่วนประกอบของหน้าต่าง Internet Explorer ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. แถบหัวเรื่อง (Title Bar) เป็นส่วนแสดงชื่อโปรแกรม และชื่อ เว็บขณะนั้น
2. แถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar) เป็นส่วนแสดงคำสั่งต่างๆ ที่สามารถเลือกใช้ได้เมื่อคลิกที่ชื่อเมนูใด จะ ปรากฎ คำสั่งภายในเมนูนั้นให้เลือก
3. แถบเครื่องมือ (Tool Bar) เป็นส่วนแสดงปุ่มคำสั่งที่ใช้บ่อยๆ เพื่อให้เลือกใช้ได้สะดวกกว่า เลือกจาก แถบเมนู เมื่อเลือกตัวชี้ของเมาส์มายังไอคอน ไอคอนส่วนนั้นจะแสดงเป็นกรอบรูปและเป็นรูปสี
4. โลโก้ (Logo) Windows-IE เป็นส่วนที่แสดงสภาวะการดึงข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ตหากกำลังทำการดึง ข้อมูลอยู่จะแสดงรูปโลกหมุนรอบโลโก้วินโดวส์และจะหยุดนิ่งเมื่อเสร็จสิ้นการดึงข้อมูล
5. พื้นที่แสดงเว็บเพจ เป็นส่วนที่แสดงข้อมูลในเว็บเพจที่ดึงมาดู หากมีข้อมูลยาวเกิน 1 หน้าจอให้ใช้ แถบเลื่อนจอภาพ (Scroll Bar) ในการเลื่อนไปดูในส่วนที่เหลือ
6. แถบสถานะ (Status bar) เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงสภาวะการติดต่อ และการส่งผ่านข้อมูลในระบบ

แถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar) 

      เมนูคำสั่งนั้นจะมีคำสั่งมากมาย ซึ่งจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ที่สามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เมนูคำสั่งของ Internet Explorer จะมีดังนี้ File จะเป็นเมนูที่เกี่ยวกับการไปยังเว็บไซต์หรือเว็บเพจต่าง ๆ รวมไปถึงการจัดเก็บเอกสาร การพิมพ์ เอกสารนั้น ๆ Edit ใช้ในการเลือกทำงานร่วมกับเอกสารที่อยู่บนพื้นที่ทำงาน (Workspace) ไม่ว่าจะเป็นการคัดลอก (Copy), การเคลื่อนย้าย (Cut), การวางเอกสาร (Paste) เอกสาร หรือการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ในเอกสารนั้น ๆ View เมนูนี้ จะเป็นคำสั่งที่มีความสัมพันธ์กับปุ่มคำสั่งบนแถบเครื่องมือ (Tool Bar) บางคำสั่งเป็นคำสั่ง เดียวกัน เช่น การแสดงตัวอักษรในขนาดต่าง ๆ การดึงข้อมูลใหม่อีกครั้ง (Refresh) ใช้ในการค่าต่าง ๆ ของแถบเครื่องมือ (Tool Bar) และการดู Source ของเอกสารเว็บในขณะนั้น Go จะเป็นคำสั่งในการไปยังเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งเก็บประวัติในการไปในที่ต่าง ๆ ด้วย Favorites จะเป็นเมนูที่เก็บสถานที่หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการ ในกรณีที่เคยไปเยี่ยมชมมาแล้ว สามารถเพิ่มเติมสถานที่เหล่านั้นได้ Help เป็นเมนูช่วยเหลือต่าง ๆ 

การใช้โฟลเดอร์ Favorites 

    โฟลเดอร์ Favorites จะเป็นโฟลเดอร์ที่ใช้เก็บสถานที่ที่ชอบและเคยไปมาแล้ว ช่วยอำนวยความสะดวก ในการ ทำงาน ไม่ต้องมาเสียเวลาจำที่อยู่ URL ซึ่งอาจจะยากและยาวเกินไป ซึ่งมีวิธีการใช้โฟลเดอร์ Favorites ดังนี้ 
1. สมมติว่า ต้องการไปยังเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ก็ทำได้โดยการพิมพ์ http://www.thairath.com ลงในช่อง Address แล้วกดปุ่ม Enter หรือ คลิกปุ่ม Go
2. หากต้องการเก็บเว็บไซต์นี้เอาไว้ในโฟลเดอร์ Favorites ทำได้โดยคลิกที่เมนูคำสั่ง Favorites จากนั้นเลือก คำสั่ง Add to Favorites หรืออาจคลิก (Click) ขวาที่ส่วนของหน้าเอกสารแล้วเลือก คำสั่ง Add to Favorites ก็ได้



3. จะปรากฏไดอะล็อก Add to Favorites ปรากฎขึ้นมา ให้กำหนดชื่อที่ต้องการจะจัดเก็บ จากนั้นกดปุ่ม OK




4. เมื่อต้องการมาที่เว็บไซต์นี้อีกครั้งในภายหลัง ก็สามารถเรียกใช้จากเมนูคำสั่ง Favorites ได้ทันที โดยที่ ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ ที่อยู่ URL ในช่อง Address ใหม่



แถบเครื่องมือ (Tool Bar) 
แถบเครื่องมือหลักของ Internet Explorer มีอยู่ดังต่อไปนี้
1. แถบเครื่องมือมาตรฐาน (Standard buttons) เป็นส่วนที่ช่วยในการจัดการกับเว็บเพจต่างๆ

Back การย้อนกลับไปดูเว็บเพจที่ผ่านมาแล้ว และสามารถย้อนกลับไปยังเว็บเพจที่ต้องการได้โดยกดปุ่มลูก ศรข้างปุ่ม

Forward การเดินหน้าไปดุเว็บเพจที่ผ่านมาแล้ว และสามารถเดินหน้าไปยังเว็บเพจที่ ต้องการได้ โดยกดที่ลูกศรข้างปุ่ม

Stop การหยุดดึงข้อมูล


Refresh การดึงข้อมูลจากเว็บเพจหน้าเดิมใหม่ ใช้ในกรณีที่ข้อมูลดึงมาไม่สมบูรณ์


Home การกลับไปยังหน้าโฮมเพจได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว


Search การค้นหาข้อมูลที่อยู่ในเว็บเพจนั้น


Favorite การเก็บชื่อและตำแหน่งของเว็บเพจที่ถูกใจ เพื่อให้สามารถกลับมาดูได้อย่าง สะดวกและรวดเร็ว

2. แถบที่อยู่ (Address bar) เป็นส่วนที่แสดงตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจขณะนั้น และยังเป็นส่วนที่ใช้ในการเข้าไปสู่หน้าโฮมเพจ (Homepage) ต่าง ๆ โดยที่ผู้ใช้ต้องป้อนชื่อโฮมเพจ (Homepage) ต้องการเข้าไปในโฮมเพจ (Homepage) ของสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ก็ต้องพิมพ์ http://www.risurat.ac.th ลงในช่อง Address แล้วกด Enter หรือคลิกเมาส์ ที่ปุ่ม Go ก็จะเข้าสู่เว็บเพจของสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น