วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่8 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์การใช้งาน ติดต่อสื่อสาร


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์การใช้งาน ติดต่อสื่อสาร


สาระสำคัญ   

        ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้วิธีหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะมีข้อดีแล้ว ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรศึกษาก่อน การใช้งาน เพื่อให้สามารถตัดสินใจและใช้งานได้อย่างถูกต้อง

 ความสำคัญและความหมายของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างหนึ่งที่เกิดจากการเชื่อมต่อ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ นิยมเรียกสั้นๆ ว่า อีเมล์ มาจากภาษาอังกฤษคำว่า อิเล็กทรอนิกส์เมล์ (E-mail = Electronic Mail) หรือเรียกว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะการรับและส่งข้อมูลเหมือนกับการติดต่อสื่อสารประเภทจดหมาย คือ มีการพิมพ์ ข้อความผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วแปลงเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แทนการเขียนข้อความลงในกระดาษ แล้วใช้การส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งแทนการส่งจดหมายผ่านทางไปรษณีย์
  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในบริษัทหรือสำนักงานโดยใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้าง ขึ้นเพื่อใช้เฉพาะภาย ในบริษัทหรือสำนักงาน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือไม่ก็ได้ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ (Electronic Mail - Email)เป็นวิธีติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดาจนถึงการส่งเอกสารแบบมัลติมีเดียมีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า e-mail Address คล้าย ๆ กับชื่อ – นามสกุล และที่อยู่นั่นเองปัจจุบันเราสามารถมีอีเมล์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว จากเว็บไซต์ที่ให้บริการรับ-ส่งอีเมล์ที่เรียกว่า ฟรีอีเมล์ (Free-Email) ซึ่งมีบริการให้เลือกมากมายทั้งไทยและต่างประเทศ อีเมล์จึงเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัยรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ ดังนี้

1.ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค สำหรับอีเมล์ในทุกแห่งทั่วโลกที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อถึงกันได้ สามารถเข้าไปสถานที่เหล่านั้นได้ทุกที่ ทำให้ผู้คนทั่วโลกทันที 

2.สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา จดหมายจะถูกเก็บไว้ในตู้จดหมายของคอมพิวเตอร์ จนกว่าเจ้าของจดหมายที่มีรหัสผ่านจะเปิดตู้จดหมายของตนเอง 

3.สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลายๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งให้ทีละคน 

4.ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่งจดหมายถึงตู้ไปรษณีย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง เหมือนกับไปรษณีย์ธรรมดา 

5.ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก ซึ่งจะทำให้ทราบว่าในตู้จดหมายของผู้รับ มีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่าน จดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้งก็สามารถเก็บข้อความไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน 

 6.สามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (Transferring Files) แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้ ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสาร เป็นไปได้โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์

ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

    ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการอย่างหนึ่งของระบบเครือข่ายซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบุคคลที่ใช้อินเทอร์เน็ต เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์จะมีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นของตนเองด้วยเหตุนี้ผู้ใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จึงต้องมีที่อยู่ของตนเอง และรู้ที่อยู่ของบุคคลที่ต้องการติดต่อสื่อสาร เมื่อต้องการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้ต้องสมัครหรือลงทะเบียนกับเว็บไซต์ที่ให้บริการ เพื่อจะได้ที่อยู่สำหรับติดต่อทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน คือ ชื่อ แอท โดเมนเนม และรหัส

• ชื่อหรือยูเซอร์เนม (User Name) คือ ชื่อของสมาชิกที่ใช้สมัครหรือลงทะเบียน อาจเป็นชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อบริษัท หรือชื่อสมมุติก็ได้

• แอท คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ มีลักษณะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเอที่มีวงกลมล้อมรอบ @ ซึ่งมาจาก แอทซาย (at sing) ในภาษาอังกฤษ

• โดเมนเนม (Domain Name) คือ ที่อยู่หรือชื่อของเว็บไซต์ที่ให้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สมัครเป็นสมาชิกไว้ เพื่ออ้างเมล์เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ

• รหัส คือ ข้อมูลบอกประเภทขององค์กรและประเทศของเว็บไซต์ที่ให้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น .com หมายถึง องค์การธุรกิจการค้า หรือ .co.th หมายถึง องค์การธุรกิจการค้าในประเทศไทย เป็นต้น


การสื่อสารในเวลาจริง (real time communication)

        เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไปยังผู้รับ ในการสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องเช้าใช้ระบบในเวลาเดียวกันและข้อความจะถูกส่งจากผู้ใช้คนหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคนในกลุ่มได้ ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น การแชท ห้องคุย และวอยซ์โอเวอร์ไอพี 

 แชท (chat) 

      เป็นการสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งระหว่างบุคคล 2 คน หรือ ระหว่างกลุ่มบุคคล โดยอาศัยโปรแกรมประยุกต์ เช่นWindows Live และ Yahoo messenger

ห้องคุย (chat room)

           เป็นการสนทนาที่ผู้ใช้สามารถเลือกประเภทของหัวข้อที่สนใจซึ่งแบ่งไว้เป็นห้องต่างๆ เพื่อพูดคุยกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่ม การสนทนารูปแบบนี้อำนวยความสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดเวลาในการสื่อสารข้อความไปยังบุคคลต่างๆ โดยอาจสื่อสารในรูปข้อความ การแบ่งปันไฟล์ หรือ การใช้เว็บแคมควบคู่กันไประหว่างการสื่อสาร

 วอยซ์โอเวอร์ไอพี หรือวีดีโอไอพี (voice over IP: VoIP) 

          เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอินเทอร์เน็ตเทเลโฟนี (internet telephony) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยกับผู้อื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยวอยซ์เวอร์ไอพีใช้ อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อเข้ากับคู่สนทนาที่อาจอยู่ในพื้นที่เดียวกัน หรือพื้นที่ที่ห่างไกลออกไป โดยเสียงของผู้พูดจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณดิจิทัลแล้วส่งผ่านอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับปลายทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น